ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ Kimberly-Clark Professional* อย่างเป็นทางการ

จุดสำคัญของการแพร่เชื้อโรคในสำนักงาน

Important points for spreading germs in the office

พื้นผิวและวัตถุในสำนักงานที่มีการสัมผัสโดยผู้คนจำนวนมาก

ตลอดทั้งวันควรได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบ่อย ๆ

เพื่อทะลายห่วงโซ่การแพร่กระจายเชื้อโรค:

บทความนี้จะอธิบายว่าการมุ่งเป้าหมายไปที่ “จุดสำคัญ”

เรื่องความสะอาดของมือและพื้นผิวนั้น

เป็นขั้นตอนสำคัญในการช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้อย่างไร

การวางน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับมือและการติดป้ายกำกับไว้ในสำนักงาน

และพื้นที่ใช้สอยส่วนรวม

คือขั้นตอนหนึ่งของการมุ่งหน้าไปยังทิศทางที่ถูกต้อง

แต่การศึกษาวิจัยกลับบอกว่าการดำเนินการแค่นี้

ยังไม่พอที่จะสร้างผลกระทบอย่างจริงจัง

วัตถุที่มีการสัมผัสโดยผู้คนจำนวนมากตลอดทั้งวัน

เช่น ลูกบิดประตู ปุ่มลิฟต์ และราวบันได

ควรได้รับการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อบ่อย ๆ

เพื่อทะลายห่วงโซ่การแพร่กระจายเชื้อโรค

ไม่ว่าพื้นผิวที่พวกเขาสัมผัสตลอดทั้งวันจะเป็นบริเวณใด

คุณต้องช่วยให้พนักงานและผู้มาเยือนของคุณสบายใจ

ด้วยการจัดให้มีสารทำสำหรับทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

เพื่อช่วยทะลายห่วงโซ่การแพร่กระจายเชื้อโรค

 

การทำความสะอาดพื้นที่ในจุดสำคัญเหล่านี้

จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคในอาคารสำนักงานรู้หรือไม่

- ในรอบเวลา 24 ชั่วโมง ผู้ใหญ่แต่ละคน

มีการสัมผัสพื้นผิวเฉลี่ย 7,200 ครั้งและสัมผัสใบหน้าของตนเอง 552 ครั้ง2.

- แป้นพิมพ์แต่ละแป้นเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียถึง 8,900 ชนิด3

- โทรศัพท์มือถือแต่ละเครื่องเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียถึง 6,300 ชนิด4

- การสำรวจพบว่า ผู้ใหญ่เกือบ 95%5 ล้างมือไม่นาน

พอที่จะชำระล้างแบคทีเรียและเชื้อโรคออกจากมือให้สะอาดหมดจด

- โดยเฉลี่ยแล้ว โต๊ะทำงานจะมีแบคทีเรียมากถึง 400 เท่า6

ของฝารองนั่งชักโครก

 

มีอะไรอีกบ้างที่เราต้องให้ความสำคัญทั้งในและนอกห้องน้ำ

ภายในห้องน้ำ

- การล้างมือด้วยสบู่และน้ำคือหนึ่งในวิธีที่สามารถป้องกัน

การแพร่กระจายเชื้อโรคได้ดีที่สุด

- กระดาษเช็ดมือมีความสำคัญต่อสุขอนามัยมือที่ดี

เพราะสามารถกำจัดแบคทีเรียที่หลงเหลืออยู่บนมือได้ถึง 77%

หลังจากที่ล้างทำความสะอาด7

ภายนอกห้องน้ำ

- มีการวางน้ำยาฆ่าเชื้อสำหรับมือไว้ในบริเวณ

ที่มีผู้คนผ่านไปมาจำนวนมาก

ซึ่งเป็นจุดที่เชื้อโรคแพร่กระจายได้ง่าย

- ฆ่าเชื้อพื้นผิวเพื่อฆ่าเชื้อโรคโดยใช้สารเคมี

 

การทำความสะอาด การขจัดเชื้อโรค สิ่งสกปรก

และสิ่งเจือปนออกจากพื้นผิวหรือวัตถุ แต่ไม่ได้ฆ่าเชื้อโรค

การทำความสะอาดโดยใช้สบู่(หรือผงซักฟอก)

และน้ำเพื่อขจัดเชื้อโรคออกจากพื้นผิว กระบวนการนี้

ไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อโรค แต่การกำจัดจะช่วยลดจำนวน

และความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อ.

ทำให้ปลอดเชื้อ ลดจำนวนเชื้อโรค

บนพื้นผิวหรือวัตถุให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย

โดยเทียบกับมาตรฐานหรือข้อกำหนด

ด้านสาธารณสุขกระบวนการนี้

เป็นการทำความสะอาดหรือฆ่าเชื้อโรค

บนพื้นผิวหรือวัตถุเพื่อลดความเสี่ยง

จากการแพร่กระจายการติดเชื้อ

การฆ่าเชื้อ ฆ่าเชื้อโรค บนพื้นผิวหรือวัตถุ

การฆ่าเชื้อเป็นการ ใช้สารเคมีเพื่อฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิวหรือวัตถุ*

กระบวนการนี้ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดพื้นผิวที่สกปรก

หรือกำจัดเชื้อโรค แต่การฆ่าเชื้อโรคบนพื้นผิว

หลังการทำความสะอาดจะช่วยลดความเสี่ยง

ในการแพร่กระจายของ เชื้อได้

 

ขั้นตอนที่จะทำให้การสร้างเสริมสุขนิสัย

ด้านการทำความสะอาดและการมีสุขอนามัยเป็นเรื่องง่าย

ขั้นตอนที่ 1

ทำความสะอาดพื้นผิวของวัตถุที่มีการสัมผัสเป็นประจำ

- ใช้สารชะล้างหรือสบู่กับน้ำทำความสะอาดก่อนฆ่าเชื้อ

ขั้นตอนที่ 2

ฆ่าเชื้อพื้นผิว – ใช้สารฆ่าเชื้อที่เหมาะสม

ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตสำหรับการใช้งานและระยะเวลาที่ต้องทิ้งไว้

ข้อมูลในที่นี้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่แนะนำ

และไม่ได้แทนคำแนะนำหรือข้อบังคับใด ๆ ตามกฎหมายและข้อบังคับในท้องถิ่น

*พื้นผิวที่ไม่ได้มีการสัมผัสอาหาร

 

ที่มา: https://www.cdc.gov/flu/school/cleaning.htm

1. Zhang, N., Li, Y. and Huang, H., 2018. Surface touch

and its network growth in a graduate student office.

Indoor air, 28(6), pp.963-972

2. A frequent habit that has implications for hand hygiene Kwok,

Yen Lee Angela et al. 2015. American Journal of Infection Control,

Volume 43, Issue 2, 112 – 114

3. Pyrek, K.M., 2014. Cross-Contamination Prevention:

Addressing Keyboards as Fomite

4. Martínez-Gonzáles, N.E., Solorzano-Ibarra, F.,

Cabrera-Díaz, E., Gutiérrez-González, P., Martínez-Chávez, L.,

Pérez-Montaño, J.A. and Martínez-Cárdenas, C., 2017.

Microbial contamination on cell phones used

by undergraduate students.

Canadian Journal of Infection Control, 32(4)

5. Borchgrevink, C.P., Cha, J. and Kim, S., 2013.

Hand washing practices in a college town environment.

Journal of environmental health, 75(8), p.18.;

Hand Washing Practices in a College Town Environment,

Journal of Environmental Health

6. U. of Arizona study by Gerba, C. 2002.

First In-Office Study Dishes The Dirt on Desks.

n=7,000, study conducted in offices located in New York,

San Francisco, Tucson and Tampa

7. University of Westminster,

“Changes in the number of different types of bacteria

on the hands before and after drying using paper towel,

continuous cloth roller towel,

warm air dryer and jet air dryer” (2010)

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร: 02-331-9014 หรือ sales@innovapack.co.th
© 2015 บริษัท อินโนวาแพค จำกัด